TPC Siam Engineering Ltd.,Part
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีซี สยาม วิศวกรรม
084-769-4004,02-756-8562

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีซี สยาม วิศวกรรม

TPC Siam Engineering Ltd.,Part, ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีซี สยาม วิศวกรรม

TPC Siam Engineering Ltd., part   (หจก.ทีพีซี สยาม วิศวกรรม)
              บริหารและปฏิบัติการโดยคุณวีระชาติ  แยบสูงเนิน  ผู้เชี่ยวชาญชำนาญระบบปรับอากาศโดยเฉพาะด้านเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่(CHILLER) และงานซ่อมบำรุงอาคาร    ประสบการณ์ทำงานร่วมกับ TRANE (Airco Ltd.)  , SODEXO , Q.M AIR , PERFECT CHEMICAL AND SERVICE  เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ ,โรงพยาบาลสมิตเวช, โรงพยาบาลรามาธิบดี  ,โรงพยาบาลจุฬา, โรงพยาบาลตำรวจ,   SEAGATE  , GLOBAL ACETECH ,พันธุ์ทิพย์พลาซ่า , THE MALL,   BIG-C , LOTUS , CARREFOUR,  NOVOTEL , ORIENTAL HOTEL , PHILIPS , สถาบันAIT  ฯลฯ มากกว่า 19ปี และทีมงานที่เคยร่วมงานและมีประสบการณ์กับเครื่องCarrier และยี่ห้ออื่นๆ มากกว่า 10 ปี  โดยรับแก้ไขปัญหา วิเคราะห์ปรับปรุง และดูแลบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ ทั้งระบบขนาดเล็ก – ใหญ่  ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานในระบบปรับอากาศเพื่อให้ลูกค้าได้รับผลประโยชน์สูงสุด และมีความพึงพอใจในการใช้บริการมากที่สุด ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โทร. 081-933-9479 ,  084-769-4004,[email protected] , Skype – tpc_siam engineering
  
                           PM /CM   : บริการงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เครื่องทำความเย็น(CHILLER)  TRANE YORK Carrier  
                                         :  Overhaul Compressor  
                                         :  ซ่อมรั่ว เปลี่ยนถ่ายน้ำมันCompressor และอุปกรณ์      
                                         :  ล้างทำความสะอาดCONDENSER ด้วยเครื่องปั่นทำความสะอาด Tube
                                         :  ตรวจเช็คแก้ไขปัญหา
                   รับเป็นที่ปรึกษา  : ระบบปรับอากาศ ชิลเลอร์  และประหยัดพลังงาน
                           ออกแบบ  : ระบบปรับอากาศ
                           จำหน่าย   : เครื่องปรับอากาศ แฟนคอยล์  และวัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องมือ
                              ติดตั้ง   : ระบบท่อน้ำ ท่อลม เครื่องปรับอากาศ  ไฟฟ้า หุ้มฉนวน
                   รับสั่งทำสินค้า   : งานออกแบบ-รับสั่งทำสินค้าตามแบบ  เช่น วัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องจักร , แปรง ,
                                         สปริง , งานกลึง ฯลฯ

System TRANE   YORK  Carrier  
1. บริการงานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน แบบบริการครั้งเดียวหรือแบบสัญญารายปี
2. บริการซ่อมแซมแก้ไขเครื่องและระบบ
3. ปรับปรุงสภาพสินค้าเก่าหรือเสื่อมสภาพ
4. รับออกแบบ- ติดตั้งงานระบบ
5. บริการเช่าเครื่องมือ เช่น เครื่องทำความสะอาดChiller,คาน,รอก ฯลฯ
6. รับเหมาช่วง (ราคาพิเศษ)

บริการระบบดังนี้
- ระบบทำความเย็น (Chiller System)
- ระบบระบายอากาศ (Ventilation System)
- ระบบปรับอากาศควบคุมฝุ่นละอองและความชื้น (Humidity Control and Clean Room)
- ระบบปรับอากาศ (Air – conditioning System)
- เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน – ความเย็น (Heat Exchanger Unit)

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM)
       การบำรุงรักษาเครื่องจักร ป้องกันเครื่องจักรหยุดการทำงาน หรือทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพเป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องหยุดการทำงาน ส่งผลกระทบต่อการผลิต / งานซ่อมบำรุง ด้วยการตรวจสอบดังต่อไปนี้
1. ระบบควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
2. ระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบร่วม
3. ระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า และจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ
4. รวมทั้งระบบไฟฟ้าควบคุมการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานของ
       Compressor , Evaporator , Condenser ฯลฯ
5. สรุปและรายงานผลการตรวจสอบ
- บริการล้าง Condenser ทุกชนิด ด้วยน้ำยาเคมี  / น้ำเปล่า  พร้อมตรวจเช็คการทำงาน
- เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน Compressor
- งานซ่อมรั่ว

ข้อแนะนำสำหรับระบบการปรับอากาศ
การทำระบบการปรับอากาศจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอนั้น  ควรมี
มาตรการที่จะช่วยขจัดสาเหตุที่อาจทำให้เกิดข้อขัดข้องและอุบัติเหตุนั้น ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
(1) มีความมั่นคงและแข็งแรง
(2) ต้องปราศจากการรั่ว
(3) ต้องปราศจากความชื้น
(4) ต้องปราศจากฝุ่นละออง
(5) คุณภาพของน้ำหล่อเย็นต้องดี
(6) คุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นต้องดี
(7) พื้นที่ผิวที่ใช้ถ่ายเทความร้อนต้องสะอาด
(8) อุปกรณ์นิรภัยติดตั้งไว้ถูกต้อง

การบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ
เพื่อให้ ระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ   อีกทั้งเป็นการรักษา
อุปกรณ์และส่วนประกอบให้มีสภาพการทำงานที่ดีอยู่เสมอ  หรือปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพความ
เหมาะกับอายุของการใช้งาน ซึ่งอาจจำแนกออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
(1) ให้มีสภาพการใช้งานที่ดีอยู่เสมอ
(2) ลดการใช้กำลังไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายการใช้งาน
(3) เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
(4) ลดอุบัติเหตุอันเนื่องจากการเสียหายจนต้องหยุดทำงาน
(5) ช่วยให้มีอายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น
(6) ทำาให้ทราบถึงขีดความสามารถในการทางานที่ได้มีการบันทึกการตรวจสอบไว้

ดั้งนั้น  การบำรุงรักษาระบบการปรับอากาศจึงต้องจัดทำเป็นตารางการใช้งานขึ้น ซึ่งต้อง ทราบข้อมูลต่างๆ ดังนี้
(1) แบบของระบบที่ถูกต้อง ที่แสดงถึงการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ด้วย
(2) ประวัติการใช้งานอุปกรณ์ที่ถูกต้อง
(3) รายละเอียดข้อกำหนดที่เหมาะสมของอุปกรณ์ โดยเฉพาะในด้านมิติและอุปกรณ์ที่ใช้ เปลี่ยนแทนกัน
(4) ข้อมูลบันทึกหลักฐานการใช้ไฟฟ้า
(5) เอกสารทใช้เป็นหลักฐานในการควบคุมต้องรวบรวมไว้เพื่อใช้อ้างอิงได้ตลอดเวลา
การใช้ การบำรุงรักษา และการปรับปรุงระบบปรับอากาศ



เพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน
แนวทางการใช้งาน การบำรุงรักษาและการปรับปรุงระบบปรับอากาศให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ แม้ว่าจะใช้งานมาเวลานาน
ระบบปรับอากาศเมื่อใช้งานในระยะเวลาหนึ่งจะทำให้หมดสมรรถนะลง ทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงขึ้นหรือมีการใช้งานที่ไม่ถูกต้องก็ทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นผู้ดูแลระบบปรับอากาศจะต้องศึกษาถึงการใช้ การดูแลรักษา และการปรับปรุงระบบเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดดังนี้
1.                ควรปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละบริเวณ ละควรปรับตั้งตามความร้อนของแต่ละวันและแต่ละฤดูกาล อาคารหลายแห่งมักมีปัญหาเสมอเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ ซึ่งมักจะมีคนชอบปรับตั้งเทอร์โมสตัส ดังนั้นอาจใช้เทอร์โมสตัสแบบบล็อกค่าอุณหภูมิได้ หรือใช้เครื่องปรับอากาศให้มีขนาดพอดีหรือเล็กกว่าความต้องการเล็กน้อย ส่วนอาคารที่เครื่องทำน้ำยาเย็นควรปรับอุณหภูมิน้ำเย็นให้สูงขึ้นจาก 44-45 0F เป็น 47-48 0F ในฤดูหนาว ฤดูฝน หรือช่วงเวลากลางคืน หรือเมื่ออากาศนอกมีเอนทาลปีต่ำ ควรเพิ่มอุณหภูมิภายในอาคารให้สูงขึ้น 3-4 0F
2.                ควรเลือกใช้เทอร์โมสตัสที่คุณภาพดี และมีความแม่นยำสูง เพื่อควบคุมห้องให้สม่ำเสมอโดยเทอร์โมสตัสควรมีการ swing ของอุณหภูมิไม่เกิน1 0F
3.                ตั้งเทอร์โมสตัสให้ควบคุมอุณหภูมิห้องตามสภาวะอากาศภายนอก ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูการ โดยทั่วไปควรตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 76-80 0F รวมทั้งปิดพัดลมระบายอากาศ สำหรับบริเวณปรับอากาศที่มีคนไม่หนาแน่นและไม่มีการสูบบุหรี่
4.                ในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก ถ้าบริเวณมีเครื่องปรับอากาศหลายชุด ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศพร้อมกันทั้งหมด ควรเปิดเครื่องปรับอากาศให้พอดีกับภาระการปรับอากาศในขณะนั้นๆ และควรปรับตั้งอุณหภูมิในแต่ละเครื่องไม่ไห้เท่ากัน เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานในเวลาเดียวกันหมด
5.                อย่าเปิดประตู หน้าต่าง ทิ้งไว้ เนื่องจากจะทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณปรับอากาศ ซึ่งจะส่งผลทำให้ภาระของเครื่องปรับอากาศสูงขึ้น
6.                พื้นที่ปรับอากาศที่มีการใช้งานไม่พร้อมกัน ควรกั้นเป็นห้องเฉพาะส่วน
7.                หมั่นตรวจสอบรอยรั่วของระบบน้ำยา ซึ่งเมื่อเกิดการรั่วของน้ำยา จะทำให้ความสารถในการทำความเย็นของเครื่องลดลง แต่ใช้พลังงานเท่าเดิม หรืออาจมากขึ้น เนื่องจากน้ำยาในวงจรมีน้อยลง และอาจทำให้คอมเพรสเซอร์ไหม้ได้ ถ้าคอมเพรสเซอร์ใช้น้ำยาเป็นตัวกลางในการระบายความร้อน นอกจากนั้นอาจทำให้ท่อทองแดงแตกได้ เนื่องจากความดันใน cooler ลดต่ำลงมาก ทำให้อุณหภูมิผิวท่อต่ำมากจนทำให้น้ำเย็นที่ไหลในท่อทองแดงเป็นน้ำแข็ง  ซึ้งจะมีปริมาตรมากขึ้นอาจดันให้ท่อทองแดงแตกได้
8.                พื้นที่ปรับอากาศที่มีการใช้งานน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ควรเปิดใช้เครื่องปรับอากาศ
9.                เริ่มเดินเครื่องปรับอากาศให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงสภาวะอากาศภายในห้องที่ต้องอยู่ในสภาวะเหมาะสม เมื่อเริ่มใช้อาคาร (optimum start) ซึ่งระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลของโครงสร้างลักษณะอาคาร ทางสถาปัตย์ และความเป็นฉนวนของโครงสร้าง รวมทั้งขนาดของเครื่องปรับอากาศ
10.          หยุดเดินเครื่องปรับอากาศให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยสภาวะอากาศภายในห้องปรับอากาศยังคงอยู่ในภาวะสุขสบาย จนกระทั่งเลิกใช้งาน (optimum stop) ซึ่งระยะเวลามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับมวลของโครงสร้าง    ลักษณะอาคาร ทางสถาปัตย์ และความเป็นฉนวนของโครงสร้าง
11.          ควรปรับตั้งอุณหภูมิของน้ำเย็นที่ออกจากเครื่องทำน้ำเย็นให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อสภาวะอากาศภายนอกอาคารมีอุณหภูมิต่ำ หรือภาวะความร้อนภายในอาคารต่ำ โดยทั่วไปควรปรับปรุงอยู่ที่ประมาณ 46-48 0F
12.          ปรับตั้งอุณหภูมิของน้ำระบายความร้อนให้ต่ำที่สุด โดยการเปิดหอผึ่งน้ำเย็นเพิ่มขึ้น และทำความสะอาดหอผึ่งน้ำ รวมทั้งคอนเดนเซอร์อย่างสม่ำเสมอ โดยทั่วไปความปรับตั้งอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 85-90  0F
13.          ขดท่อความร้อน (condencer) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ดังนั้นจึงต้องทำความสะอาดพื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อนอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลทำให้เกิดการประหยัดพลังงานมาก โดยทั่วไปเครื่องปรับอากาศแบบระบายความร้อนด้วยอากาศที่ใช้ลมเป่า ใช้น้ำเย็น หรือน้ำอุ่นฉีดล้าง หรืออาจใช้สารละลายเจือจางล้าง แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเครื่องทำน้ำเย็นแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ ให้ใช้สารละลายกรดเจือจางล้าง แล้วใช้โลหะขัดภายในท่อทองแดง หรืออาจใช้วิธีล้างอัตโนมัติที่ใช้ลูกบอลหรือแปรงขัดภายในท่อทองแดงตลอดเวลา
14.          แผ่นกรองอากาศ (air filter) และท่อความเย็น (evaporator) จะต้องหมั่นทำความสะอาดเสมอ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทความร้อนระหว่างสารทำความเย็นกับอากาศ หรือระหว่างน้ำกับอากาศมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึงทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน และอายุการใช้งานของขดท่อความเย็นสูงขึ้น
15.          ควรหรี่ช่องทางนำอากาศภายนอกเข้าสู่อาคารในช่วงเริ่มเดินเครื่อง และช่วงปิดเครื่อง หรือในช่วงที่มีคนอยู่ภายในอาคารน้อย และกรณีที่เอ็นทาลปีของอากาศภายนอกต่ำกว่าอากาศภายในอาคาร ควรนำอากาศภายนอกเข้าสู่ภายในอาคารให้มากที่สุด
16.          ควรใช้ม่านชนิดสะท้อนความร้อนจากการแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่จะผ่านกระจกเข้าสู่อาคารในทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงเช้า และกระจกในทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงบ่าย จะส่งผลทำให้ภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศลดลง
17.          เครื่องปรับอากาศทุกแบบ ทั้งแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (air cooled) และแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (water cooled) ต้องให้อากาศเข้าไประบายความร้อนได้สะดวก ดังนั้นควรระวังอย่าให้มีสิ่งแวดล้อมขวางลมที่เข้าออก ซึงจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศ ทำความเย็นได้น้อยลง หรืออาจทำให้ลมวนกลับเข้ามาระบายความร้อนใหม่ ซึ่งอากาศนั้นมีอุณหภูมิและความชื้นสูง จะทำให้สมรรถนะในการระบายความร้อนลดลง
18.          ควรบังแดดให้แก่อุปกรณ์ระบายความร้อนต่างๆ ทั้งคอนเดนเซอร์ของเครื่องปรับอากาศและระบายความร้อนด้วยอากาศ และหอผึ่งน้ำของเครื่องปรับอากาศ แบบระบายความร้อยด้วยน้ำ ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิผิวของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนลดลง รวมทั้งอุณหภูมิอากาศที่เข้าระบายความร้อนลดลงด้วย นอกจากนั้นอุณหภูมิของน้ำในหอผึ่งน้ำจะต่ำลง ทั้งยังช่วยลดการเจริญเติบโตของสาหร่ายและตะไคร่น้ำ ซึ่งจะทำให้คอนเดนเซอร์ของเครื่องทำน้ำเย็นอุดตันช้าลง ส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ใช้พลังงานน้อยลง
19.     ทำความสะอาดรูหัวฉีด (nozzle ของหอผึ่งน้ำ) เนื่องจากเมื่อใช้งานไปนานๆ จะเกิดตะกรัน ตะไคร่น้ำ และสิ่งสกปรกต่างๆเกาะ ทำให้เกิดการอุดตันหรือหัวฉีดเล็กลง ทำให้น้ำเป็นสเปรย์ได้ดี ส่งผลให้อากาศที่เข้าระบายความร้อนสัมผัสกับน้ำระบายความร้อนได้ไม่เท่าที่ควร ส่งผลให้อุณหภูมิของน้ำที่ออกจากหอผึ่งเย็นสูงทำให้เครื่องทำน้ำเย็นมีสมรรถนะลดลง
20.     ทำความสะอาดอ่างน้ำและฟิลลิ่งของหอผึ่งน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หอผึ่งน้ำทำงานได้อย่างมีสมรรถนะสูงสุด
21.     ควรทดสอบและบาลานซ์ระบบทั้งหมด ทั้งระบบน้ำเย็นและระบบลมเย็น อย่างน้อยปีละครั้ง เนื่องจากใช้งานระบบปรับอากาศไประยะหนึ่ง อุปกรณ์ต่างๆจะมีประสิทธิภาพลดลง หรือมีการปรับแต่งระหว่างการใช้งาน ดังนั้นจึงต้องทดสอบและปรับสมดุลระบบเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการใช้งานดีอยู่เสมอ
22.     การเดินเครื่องทำน้ำเย็นและอุปกรณ์ประกอบ เช่น เครื่องส่งลมเย็น เครื่องสูบน้ำเย็น เครื่องสูบน้ำระบายความร้อน หอผึ่งน้ำ ฯลฯ ให้อยู่ในตำแหน่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ภาระความเย็นที่ต้องการ อาคารบางแห่งอาจเดินปั๊มน้ำมากเกินไป โดยเปิดวาล์ว ให้น้ำเกิดการลัดวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องทำน้ำเย็นซึ่งไม่ได้ประโยชน์อะไร และเป็นการสิ้นเปลืองพลังงาน ดังนั้นควรเดินอุปกรณ์ต่างๆ ให้พอดีกับภาระการปรับอากาศให้เกิดขึ้นในแต่ละเวลาจะสามารถประหยัดพลังงานได้มาก
23.     ปรับแต่งคุณภาพน้ำที่เติมเข้าสู่หอผึ่งน้ำและปรับแต่งน้ำที่ไหลเวียนอยู่ในระบบระบายความร้อนโดยในส่วนคุณภาพน้ำที่เติมสามารถปรับแต่งได้โดยการควบคุมการ bleed  off สารเคมี เพื่อทำให้น้ำอ่อน และทำให้น้ำสะอาดและควรเติมสารเคมีเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของสาหร่ายและตะไคร่น้ำ ซึ่งจะทำให้หอผึ่งน้ำและคอนเดนเซอร์มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนสูง ทำให้ความดันน้ำยาในคอนเดนเซอร์ไม่สูงและคอมเพรสเซอร์ใช้พลังงานลดลง
24.     การหล่อลื่นอุปกรณ์ที่เคลื่อนไหวทั้งหมดอย่างสม่ำเสมอ เช่น เฟืองของพัดลม หอผึ่งน้ำ พัดลมส่งความเย็นต่างๆ ซึ่งจะทำให้มอเตอร์ขับต่างๆ ใช้พลังงานลดลง
25.     ปรับความตึงของสายพานที่ใช้ในการส่งกำลังของอุปกรณ์ต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เช่น AHU ,หอผึ่งเย็น ฯลฯ ซึ่งจะทำให้มอเตอร์ขับสูญเสียกำลังน้อยลง
26.     ตรวจสอบสภาพของฉนวนต่างๆที่หุ้มเครื่องทำน้ำเย็น เครื่องส่งลมเย็น ท่อลมและท่อน้ำ หากมีการชำรุดหรือเสื่อมสภาพให้ดำเนินการแก้ไข เพื่อป้องกันความร้อนจากบรรยากาศที่จะถ่ายเทเข้าสู่น้ำเย็นและอากาศเย็น ซึ่งจะทำให้ภาระการปรับอากาศสูงขึ้น
27.     ตรวจสอบการรั่วของลมเย็นในบริเวณต่างๆ ของท่อลมสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน ซึ่งการรั่วของท่อลม อาจทำให้บางบริเวณของพื้นที่ปรับอากาศไม่เย็น เนื่องจากลมเย็นไม่สามารถส่งไปถึงบริเวณนั้นๆ ได้หรือได้น้อนกว่าปริมาตรที่ต้องการ
28.     เปลี่ยนมอเตอร์ต่างๆ ในระบบปรับอากาศ เช่น มอเตอร์ปั๊มน้ำเย็น มอเตอร์ปั๊มน้ำหล่อเย็น มอเตอร์เครื่องเป่าลมเย็น ฯลฯ ที่มีนขาดใหญ่เกินไป (ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า 60% ของ Full load amp ของมอเตอร์) โดยเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงให้เหมาะสมกับภาระใช้งานจริง หรืออาจใช้วิธีการสับเปลี่ยนมอเตอร์ที่อยู่ภายในที่อยู่ภายในอาคารก็ได้ กรณีที่มีการเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ ไม่ว่ากรณีใดก็ตามควรเปลี่ยนไปใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานมากขึ้น
29.     ตรวจสอบการรั่วของน้ำเย็นบริเวณแกนของปั๊ม หรือบริเวณต่างๆ เนื่องจากน้ำเย็นมีอุณหภูมิต่ำประมาณ  40-45 0F ซึ่งทำให้เกิดการรั่วไหลก็ต้องเติมน้ำเข้าสู่ระบบ ซึ่งน้ำที่เติมอยู่มีอุณหภูมิประมาณ 90 0F ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานที่จะทำให้น้ำนั้นๆ เย็นขึ้น ซึ่งน้ำเย็นที่รั่วออก 1 GPM จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมากขึ้นประมาณ 2 ตันความเย็น
30.     หมั่นตรวจสอบการทำงานของวาล์วระบายอากาศ ที่ทำงานไล่อากาศภายในระบบท่อน้ำ เนื่องจากอากาศเมื่ออยู่ระบบท่อหรืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (AHU,FCU) จะทำให้น้ำเย็นแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับอากาศได้ไม่ดี เนื่องจากมีอากาศเป็นฉนวนกั้นอยู่
31.     ปิดไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในบริเวณปรับอากาศเมื่อไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้น  ซึ่งเป็นภาระของเครื่องปรับอากาศ จึงทำให้เครื่องปรับอากาศใช้พลังงานมากขึ้น
32.     อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ปั๊มน้ำเย็น ปั๊มน้ำ ระบายความร้อน และหอผึ่งน้ำ เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง จะทำให้เกิดการใช้พลังงานสูงขึ้นเนื่องจากประสิทธิภาพลดลง ดังนั้นควรจัดลำดับการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ โดยอุปกรณ์ที่ประสิทธิภาพต่ำ ควรเปิดใช้งานให้น้อยกว่าอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง
33.     ควรทยอยเพิ่มภาระการปรับอากาศ เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าขิงเครื่องทำน้ำเย็น เช่น    เริ่มเดินที่ภาระ 50 % จนถึง 80 – 90 %
34.     ควรติดตั้งเครื่องทำน้ำเย็นขนาดเล็ก เพื่อใช้ในช่วงที่ภาระของการปรับอากาศต่ำ ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานได้มาก เนื่องจากเครื่องปรับอากาศจะใช้งานที่จุดที่มีประสิทธิภาพสูง
35.     ถ้าขนาดเครื่องผึ่งน้ำเล็กไป การเพิ่มขนาดของหอผึ่งน้ำให้ใหญ่ขึ้น จะทำให้ระบายความร้อนไดดีขึ้น
36.     ควรใช้อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อนระหว่างอากาศเย็นที่ระบายทิ้งกับอากาศภายนอกที่นำเข้ามาใหม่
37.     ควรใช้วาล์วควบคุมน้ำแบบ 2 ทาง แทนวาล์ว 3 ทาง เพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากความเสียดทาน ซึ่งจะทำให้ปั้มทำงานด้วยพลังไฟฟ้าลดลง
38.     ควรใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานระบบปรับอากาศให้ทำงานอยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
















เอกสารอ้างอิง
- หนังสือรวมบทความจากวารสาร เทคนิค ระบบปรับอากาศ-ทำความเย็น ชุดที่ 4
- การบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีซี สยาม วิศวกรรม

TPC Siam Engineering Ltd.,Part

283/149 ม.7 ซ.ร่วมพัฒนา1 ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย ต.สำโรงกลาง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130

084-769-4004,02-756-8562
02-384-1965

Contact: สุวารี,วีระชาติ แยบสูงเนิน